top of page

เคล็ดลับ ประหยัดไฟ
ลดค่าใช้จ่ายห้องเย็น
ห้องแช่แข็ง

ประเทศไทยอากาศค่อนข้างแปรปรวน ในวันหนึ่งมีทั้งร้อน ฝน และอากาศเย็น อุณหภูมิที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้ห้องเย็น ห้องแช่แข็ง ทำงานหนักขึ้น และทำให้เสียพลังงานมากขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น โดยพลังงานส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมห้องเย็นจะเป็นพลังงานไฟฟ้า

เพื่อใช้ในการเดินเครื่องทำความเย็น ซึ่งใช้ในกระบวนการแช่แข็งและกระบวนการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมดูแลการใช้พลังงานของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งถ้าเราประหยัดไฟได้นั่นหมายถึงต้นทุนลดลง กำไรก็เพิ่มขึ้น นั่นเอง

มาดูกันว่าเราจะลดค่าไฟฟ้าได้อย่างไร

Screenshot 2564-08-02 at 12.18.24.png

ขนาดห้องกับการจัดเก็บ

มีส่วนสำคัญต่อการประหยัดไฟในห้องเย็น

ขนาดห้องกับการจัดเก็บ มีส่วนสำคัญต่อการประหยัดไฟในห้องเย็น  

เลือกเครื่องทำความเย็นให้เหมาะสมกับการใช้งานและพื้นที่ในการใช้งาน

เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และประหยัดไฟได้

เลือกใช้วัสดุฉนวนห้องเย็น และอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีคุณภาพ

และมีมาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของห้องเย็นและให้เสื่อมสภาพน้อยที่สุด

และช่วยให้ประหยัดพลังงานในระยะยาว  จัดสรรพื้นที่การใช้งานและองค์ประกอบต่าง ๆ

ภายในห้องเย็นให้เหมาะสม การใช้ฉนวนห้องเย็นที่หนาขึ้นจะช่วยลดความร้อนจากภายนอก

และทำให้คุณประหยัดไฟได้อย่างเห็นได้ชัด

                                             

Screenshot 2564-08-02 at 12.20.04.png

การตั้งค่าอุณหภูมิ ช่วยประหยัดไฟในห้องเย็นได้ 

1. ตั้งค่าอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสินค้า สินค้ามีหลายประเภทแต่ละประเภทใช้อุณหภูมิการเก็บ

ไม่เท่ากัน เช่น เก็บผักผลไม้ โดยทั่วไปจะใช้แค่ 3 ถึง 8 องศา แต่ถ้าเราตั้งไว้ที่ต่ำกว่า

0 องศาเซลเซียส นอกจากจะทำให้เครื่องคอมเพรสเซอร์ทำงานนานและใช้ไฟฟ้ามากขึ้นแล้ว

ยังทำให้สินค้าเสียหายอีกด้วยฉะนั้นการตั้งค่า อุณหภูมิห้องเย็นแนะนำให้ตั้งค่าตามอุณหภูมิ

ที่สินค้าต้องการ จะช่วยประหยัดไฟได้

 

2. ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิของสินค้าให้เหมาะสม ก่อนการแช่เยือกแข็ง ลดช่องเปิดต่างๆ

ที่เป็นเหตุของการสูญเสียพลังงานให้เหลือน้อยที่สุด และควรติดตั้งม่านพลาสติกกันความเย็น

ไม่ตั้งอุณหภูมิห้องเย็นต่ำจนเกินไป การลดอุณหภูมิในห้องเย็นลง 1 องศาเซลเซียสจะใช้พลังงานโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1% จัดการหมุนเวียนของอากาศในห้องเย็นให้หมุนเวียนได้ดี

เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่สม่ำเสมอทั่วทั้งห้อง หลีกเลี่ยงการนำแหล่งความร้อน

เช่น การนำสินค้าที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้องมากๆ เข้ามาในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ

หรือการเข้า-ออกห้องเย็นโดยไม่จำเป็น และไม่ควรเปิดประตูห้องเย็นทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ

 

3. ตั้งค่าช่วงเวลาในการตัดและต่อเครื่องคอมเพรสเซอร์ ควรตั้งค่าการหยุดทำงาน

และกลับมาทำงานอีกครั้งของคอมเพรสเซอร์ให้ห่างกัน สัก 6-8 องศา โดยปกติแล้วห้องเย็น

แบบห้องชิลแช่ผักผลไม้ จะใช้อุณหภูมิประมาณ 5 องศา และเมื่ออุณหภูมิได้ 5 องศาแล้ว

เครื่องจะหยุดทำงาน จนกระทั่งอุณหภูมิร้อนขึ้นจนไปถึง 10 องศา (ค่าสมมติ) เครื่องจะกลับมาทำงานอีกครั้ง แสดงว่าเหตุการณ์นี้ตั้งค่าให้ห่างกันแค่ 5 องศา ถ้าเราต้องการประหยัดไฟ

หลักการก็คือให้คอมเพรสเซอร์หรือเครื่องทำความเย็นสตาร์ทให้ไม่บ่อยเกินความจำเป็น

แบบว่า เดี๋ยวตัด เดี๋ยวต่อ เดี๋ยวตัด เดี๋ยวต่อ แบบนี้แสดงว่าเครื่องสตาร์ทบ่อย

เราอาจตั้งค่า Diff ของอุณหภูมิน้อยเกินไป หรืออาจเกิดจากห้องเย็นรั่วก็เป็นได้ ที่ทำให้เครื่องตัดต่อบ่อย หากต้องการให้อุณหภูมิคงที่ 5 องศา โดยเป็นสินค้าที่ sensitive

อุณหภูมิห้ามปรับเปลี่ยนเกินกว่า 1-2 องศา ในลักษณะนี้ หากต้องการประหยัดไฟจริงๆ

ควรใช้คอมเพรสเซอร์แบบ Inverter ซึ่งมีราคาจะสูงมาก จึงต้องมาเปรียบเทียบเรื่องความคุ้มค่า ระหว่างค่าไฟฟ้ากับราคาคอมเพรสเซอร์แบบไหนจะคุ้มหรือเหมาะสมมากกว่ากัน

 

4. ตั้งค่าช่วงเวลาการละลายน้ำแข็ง Defrost ห้องเย็นที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส

ลงไป เช่น -10 หรือ -25 องศาเซลเซียส เป็นต้น ทุกห้องจะต้องมีระบบละลายน้ำแข็ง

หรือเรียกว่าดีฟรอสต์ ส่วนใหญ่จะใช้ฮีทเตอร์ทำความร้อนเพื่อละลายน้ำแข็งบริเวณคอยล์เย็น

ในห้องเย็น ที่ต้องละลายน้ำแข็งก็เพื่อไม่ให้น้ำแข็งไปเกาะที่คอยล์เย็น หากเกิดน้ำแข็งเกาะหนาขึ้น

จะทำให้ลมเย็นไม่ถูกส่งผ่านไปในห้องเพราะถูกน้ำแข็งกั้นบังเอาไว้

 

5. การจะประหยัดไฟได้นั้น ต้องทำให้ฮีทเตอร์ทำงานให้น้อยที่สุด

เพราะฮีทเตอร์ใช้กำลังไฟฟ้าค่อนข้างสูง ถ้าเทียบง่ายๆ ก็จะคล้ายเตารีด หรือ เครื่องปิ้งย่างไฟฟ้า อุปกรณ์เหล่านี้มีความร้อนจะใช้กำลังไฟฟ้าสูง หรือออกแบบการละลายน้ำแข็งแบบใช้แก๊สร้อน