top of page

ความรู้ ...
เกี่ยวกับระบบทำความเย็น ห้องเย็น และ ห้องแช่แข็ง

คอมเพรสเซอร์ นั้นเป็นอีกอุปกรณ์สำคัญของระบบทำความเย็นที่ขาดไปไม่ได้ เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการทำงานของระบบทำความเย็นเลยก็ว่าได้ บทความนี้จึงรวบรวมทุกข้อมูลเกี่ยวกับ คอมเพรสเซอร์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่กำลังสนใจเลือก คอมเพรสเซอร์ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับระบบเครื่องทำความเย็น

Picture 1.jpg

หน้าที่ของ คอมเพรสเซอร์ ใน ระบบทำความเย็น

คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่เพิ่มความดันของสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะที่เป็นก๊าซ

โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซความดันและอุณหภูมิต่ำจาก

อีวาโปเรเตอร์หรือคอยล์เย็นที่ผ่านเข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดก๊าซนี้

ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งเข้าไปยังคอนเดนเซอร์ เพื่อไปกลั่นตัวเป็นของเหลวในคอนเดนเซอร์ด้วยการระบายความร้อนออกจากสารความเย็นอีกทีหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างความดันของระบบจากด้านความดันต่ำ

ไปยังความดันสูง โดยจะต้องใส่พลังงานให้กับคอมเพรสเซอร์  

 

 

                                             

ดูข้อมูลเกี่ยวกับสารทำความเย็น

ประเภทของคอมเพรสเซอร์ ใน ระบบทำความเย็น

  จำแนกคอมเพรสเซอร์ตามวิธีการอัด (Compression Methods)  

การอัดไอของคอมเพรสเซอร์นั้นถูกจำแนกเป็นหลายรูปแบบตามวิธีการอัดเชิงปริมาตร

ดังต่อไปนี้  

 

1. แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)  คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ

ใช้การทำงานของเพลาข้อเหวี่ยง (Crank Shaft) ขับให้ลูกสูบเกิดการดูดอัด

โดยเคลื่อนที่ไปมาในลักษณะเส้นตรงอยู่ในกระบอกสูบที่ใช้กำลังจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์

เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงเป็นจังหวะการดูดไอสารทำความเย็นผ่านลิ้นดูด

จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกกักไว้ในกระบอกสูบ เมื่อกระบอกสูบเลื่อนขึ้นจะทำให้เกิด

ความดันสูงขึ้นดันให้ลิ้นเปิดและสารทำความเย็นไหลออกเพื่อไปยังระบบทำความเย็นต่อไป  

 

                                                  

ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ

Picture 2.png

2. แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)  คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่

มีความคล้ายกับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ โดยมีลูกเบี้ยวหมุนเยื้องศูนย์เป็นตัวดูด

และอัดสารทำความเย็นเข้าสู่ระบบ นิยมใช้กับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเนื่องจากเสียงเงียบ

และสั่นสะเทือนน้อย โดยคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่แบ่งออกเป็น 2 แบบ

ได้แก่ เครื่องอัดโรตารี่แบบลูกปืนหมุน และ เครื่องอัดโรตารี่แบบใบพัดหมุน

 

 

 3. แบบสโครลหรือแบบก้นหอย (Scroll Compressor) คอมเพรสเซอร์แบบสโครล

หรือแบบก้นหอย โดยการนำเอาข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบและโรตารี่มารวมกัน

ทำให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น  การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบสโครล

อาศัยการทำงานของใบพัด 2 ชุด ที่เคลื่อนที่และอยู่กับที่ ขับเคลื่อนโดยอาศัยความเร็ว

ในการหมุนใบพัดเพื่อให้เกิดแรงดันภายในคอมเพรสเซอร์  

 

4. แบบสกรู (Screw Compressor)  คอมเพรสเซอร์แบบสกรู

อาศัยการทำงานของสกรู 2 ตัวคือ สกรูตัวเมีย (Female Rotor)

และสกรูตัวผู้ (Male Rotor) โดยสกรูตัวเมียจะอาศัยช่องเกลียวเป็นตัวเก็บสารทำความเย็น

ส่วนตัวผู้จะใช้สันเกลียวรีดสารทำความเย็นออกตามแกนของสกรูทั้งสอง การทำงานของสกรู

คือ ขณะที่เฟืองเริ่มหมุนสารทำความเย็นที่เป็นไอจะเข้าไปยังช่องว่าง

ระหว่างเกลียว (Interlube Space) เมื่อสกรูหมุนต่อไปช่องทางจะถูกปิดโดยตัวเกลียว

ทำให้สารทำความเย็นถูกอัดอยู่ภายในจนกระทั่งสารทำความเย็นนั้นไหลไปจนสุดร่องเกลียว

แล้วจะถูกปล่อยออกไปทางช่องจ่ายสารทำความเย็นต่อไป    

 

ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า คอมเพรสเซอร์แบบสกรู

Picture _.png

5. แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal Compressor)  คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์

ใช้ได้ดีกับระบบเครื่องปรับอากาศและระบบทำความเย็นขนาดใหญ่

มีโครงสร้างเป็นใบพัดและมีการดูดอัดสารทำความเย็นด้วยแรงเหวี่ยง

โดยสารทำความเย็นในสถานะเป็นไอจะถูกดูดเข้ามาที่แกนกลางของคอมเพรสเซอร์

และถูกเหวี่ยงตัวด้วยใบพัดทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง

น้ำมันหล่อลื่น คอมเพรสเซอร์ใน ระบบทำความเย็น

  คอมเพรสเซอร์ จำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อใช้ในการช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่

ในคอมเพรสเซอร์ เช่น แหวนและกระบอกสูบ ในขณะที่มีการทำงานของน้ำมันหล่อลื่นนั้น

จะมีบางส่วนเล็ดลอดเข้าไปปะปนกับสารทำความเย็นภายในคอมเพรสเซอร์

ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับสารทำความเย็น

รวมถึงภายในระบบจะต้องไม่มีความชื้นเพราะจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นเสื่อมสภาพ

และเกิดตะกรันอุดตันในระบบได้ คุณสมบัติที่ดีของน้ำมันสำหรับคอมเพรสเซอร์

มีดังนี้

 

 1. ให้ฟิล์มน้ำมันที่แข็งแรงเพื่อการหล่อลื่นที่สมบูรณ์  

 

2. มีความคงตัวต่อความร้อนสูง ไม่สลายตัวเป็นเขม่าได้ง่าย  

 

3. มีความคงตัวทางเคมีสูง โดยจะไม่ทำปฏิกิริยากับสารทำความเย็น

และไม่เสื่อมภาพได้ง่ายเพื่อป้องกันการเกิดคราบยางเหนียวและกัดกร่อนชิ้นส่วนในระบบ  

 

4. มีจุดไหลเทต่ำ (Low Pour Point) น้ำมันหล่อลื่นจะต้องไม่ผสมตัวกับสารทำความเย็น

เพราะจะทำให้เกิดการแข็งตัวอุดตันในบริเวณที่เย็นจัดได้  

 

5. มีจุดการเกิดไขต่ำ (Low Floc Point) เพื่อป้องการการจับตัวเป็นไข

เมื่อสัมผัสการสารทำความเย็นในบริเวณที่เย็นจัด

Picture 6.jpg

การเลือกคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะกับ ระบบทำความเย็น 

 การเลือกใช้คอมเพรสเซอร์ และสารทำความเย็น

จะต้องวิเคราะห์ตามขนาดของระบบทำความเย็นเพื่อให้ได้กระบวนกันอัดไอที่เหมาะสม

ต่อระบบทำความเย็นมากที่สุด โดยพิจารณาจาก ค่า COP (Coefficient Of Performance)

หรือประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง = COOLING CAPACITY(kW) / POWER INPUT(kW)

Screenshot 2564-08-02 at 11.57.00.png

ปัญหาคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน ในระบบทำความเย็น

 ปัญหาคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน เกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาในระบบขาด

เนื่องมาจากเกิดการรั่วของระบบ จึงทำให้ (Low Pressure Switch) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย หรือคอมเพรสเซอร์ร้อนจนเกินไป จึงทำให้ (High Pressure Switch)

ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย    

วิธีการแก้ไข  

หากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานในกรณีที่ตัวป้องกัน (Low Pressure Switch)

ตัดคอมเพรสเซอร์ ก็ให้ทำการซ่อมการรั่วให้เรียบร้อยก่อนการเปิดใช้งาน

ในกรณีที่ตัวป้องกัน(High Pressure Switch)ตัดคอมเพรสเซอร์ ก็ให้ตรวจพัดลมระบาย

ความร้อนว่าผิดปกติหรือไม่ มีสิ่งสกปรกอุดตันการระบายของแผงคอยล์ร้อนหรือไม่

หากมีให้ดำเนินการจัดการด้วยการล้างทำความสะอาด กดปุ่มรีเซ็ตก็จะสามารถกลับมา

ทำงานใหม่ได้ แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เกิดจากการช็อตของขดลวด หรือน้ำมันในคอมเพรสเซอร์แห้

จนเกิดความเสียหาย ให้ทำการเปลี่ยน คอมเพรสเซอร์ ใหม่โดยช่างผู้ชำนาญ  

 

ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า คอมเพรสเซอร์

การตรวจเช็คและดูแลคอมเพรสเซอร์ ในระบบทำความเย็น

  การตรวจเช็คคอมเพรสเซอร์ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 6 เดือน

จะช่วยป้องกันความเสียหายในระบบเครื่องทำความเย็นได้ บริเวณที่ติดตั้งคอมเพรสเซอร์

จึงต้องมีพื้นที่เพียงพอเพื่อการเข้าซ่อมบำรุงได้อย่างสะดวก และมีการระบายอากาศในบริเวณ

ที่ติดตั้ง    ตรวจเช็คข้อต่อวาล์วทุกจุด สังเกตการทำงานของคอมเพรสเซอร์

ความสม่ำเสมอในการทำงาน มีเสียงดังผิดปกติหรือไม่  ระดับน้ำมันหล่อลื่น (อื่นๆ เพิ่มเติม)

ซึ่งในทุกขั้นตอนการซ่อมบำรุงคอมเพรสเซอร์ควรทำโดยช่างผู้ที่มีความชำนาญ    

 

สรุป  

แม้ว่าการทำงานของคอมเพรสเซอร์จะถูกแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ

แต่มีหลักการเดียวกันคือทำให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอนั้นมีความดันเพิ่มขึ้น

การเลือกใช้คอมเพรสเซอร์จึงต้องวิเคราะห์ตามขนาดของระบบทำความเย็นเพื่อให้ได้

กระบวนกันอัดไอที่เหมาะสมต่อระบบทำความเย็นมากที่สุด  

 

หากท่านต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คอมเพรสเซอร์ สำหรับระบบทำความเย็น  

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับ Cool Innotech  

ทางทีมงานของเราพร้อมให้คำปรึกษากับทุกท่านครับ

บทความแนะนำ

Picture 4.jpg

เปลี่ยนห้องในบ้าน
ให้เป็นห้องเย็นขนาดเล็ก

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจและต้องการสร้างห้องสำหรับจัดเก็บสินค้าด้วยระบบทำความเย็น คุณสามารถเปลี่ยนห้องในบ้านให้เป็นห้องเย็น

Picture1e42.png

Main Components

อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และถูกแบ่งประเภทออกอย่างไร สามารถกดอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ

Picture%201_edited.jpg

ก่อนติดตั้งห้องเย็น
ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ทำความรู้จักประเภทห้องเย็น ห้องแช่แข็ง เลือกติดตั้งกับผู้ที่เชี่ยวชาญ ระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็งและอุปกรณ์ต่างๆภายในห้อง

bottom of page