top of page

ปัญหาที่มักจะเกิดกับคอยล์เย็น ในระบบทำความเย็น

Article Banner 17-01.jpg

ทำความรู้จักคอยล์เย็น สำหรับห้องเย็นและห้องแช่แข็ง

คอยล์เย็น (Evaporator หรือ Unit Cooler) เป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบทำความเย็นของห้องเย็น ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น โดยการนำสารทำความเย็นที่อยู่ภายใน ผ่านวาล์วลดแรงดัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นไอ สารทำความเย็นจะสามารถดูดซับความร้อนจากพื้นผิวของคอยล์เย็นกลับเข้ามาได้

คอยล์เย็นส่วนใหญ่จะมีแผงท่อครีบและพัดลมอยู่ ซึ่งมีหน้าที่เป่าลมหรือดูดลมเพื่อช่วยในการระบายความเย็นของคอยล์เย็น และอากาศที่ไหลผ่านคอยล์เย็นนี้จะถูกดูดเอาความร้อนออกจนกลายเป็นอากาศที่มีความเย็น และกระจายไปทั่วทั้งห้องเย็น

02.png
03.png

หลักในการเลือกใช้ และการออกแบบคอยล์เย็น

การเลือกใช้คอยล์เย็นต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ขนาดของห้องเย็น ปริมาณของที่แช่ เพื่อทำการออกแบบคอยล์เย็นให้ตรงตามการใช้งาน

หลักในการเลือกคอยล์เย็นนั้น ไม่สามารถเปรียบเทียบจากขนาดและจำนวนพัดลมจากคอยล์เย็นต่างยี่ห้อกันได้ เพราะเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการออกแบบคอยล์เย็นเท่านั้น คอยล์เย็นบางยี่ห้อมีประสิทธิภาพของคอยล์เย็นที่ดีจึงใช้ขนาดของพัดลมที่เล็ก และจำนวนพัดลมที่น้อย สามารถทำความเย็นได้ตามที่ต้องการ ซึ่งแตกต่างกับคอยล์เย็นบางยี่ห้อต้องใช้ขนาดและจำนวนพัดลมที่มาก เพื่อที่จะได้ความสามารถในการทำความเย็นตามที่ต้องการ

เพื่อประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงสุด โดยที่ใช้พลังงานน้อยสุด ควรปรึกษาทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานห้องเย็น

ปัญหาคอยล์เย็นตัน และวิธีแก้ไข

คอยล์เย็นตัน จะมีลักษณะอาการคือ ลมเป่าไม่ออก เพราะน้ำแข็งเกาะที่ครีบ (FIN) บริเวณตัวคอยล์เย็นจนลมไม่สามารถผ่านได้ อาการนี้มักจะเกิดกับห้องเย็นที่ใช้อุณหภูมิต่ำๆ -18 หรือ -25 องศาเซลเซียส

สาเหตุของการเกิดน้ำแข็งเกาะในคอยล์เย็น อาจเกิดจากความชื้นในห้องเย็น และในตัวสินค้า คอยล์เย็นจะเอาความชื้นและความร้อนระบายออกไปข้างนอก และความชื้นนี้เองจะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งมาเกาะที่คอยล์เย็น

วิธีแก้ไข

ให้กดปุ่ม manual ละลายน้ำแข็งที่ตู้คอนโทรล ฮีทเตอร์จะละลายน้ำแข็งให้หมดไป อาจจะใช้เวลาประมาณ 15-25 นาที ซึ่งโดยปกติแล้วในการละลาน้ำแข็งนั้น ฮีทเตอร์จะทำงานโดยอัติโนมัติ ตามที่ทำการตั้งค่าไว้แล้ว เช่น ให้ทำการละลายทุกๆ 3 หรือ 4 ชั่วโมงเป็นต้น

 

หมายเหตุ

ในขณะกดฮีทเตอร์เพื่อละลายน้ำแข็ง เครื่องทำความเย็น คอมเพรสเซอร์ (Compressor) คอยล์เย็น (Unit Cooler) จะหยุดทำงาน ระหว่างนี้ ห้ามปิดสวิตซ์ห้องเย็น เพราะฮีทเตอร์จะหยุดทำงาน และเมื่อจบรอบการละลายน้ำแข็ง เครื่องจะทำงานใหม่อีกครั้ง หากมีน้ำแข็งค้างอยู่ ยังละลายไม่หมด จะทำให้คอยล์เย็นตันเร็วขึ้น และสะสมน้ำแข็งจนทำให้อุปกรณ์เสียหายได้

สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้น้ำแข็งอุดตันในคอยล์เย็น

ห้องเย็นที่ตั้งค่าอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ในคอยล์เย็นจะเกิดน้ำแข็งเกาะ เนื่องจากอุณหภูมิผิวคอยล์เย็นจะติดลบ และเมื่ออากาศพาความชื้นเข้ามาผ่านผิวคอยล์เย็น ก็จะเกิดการจับตัวและสะสมน้ำแข็งขึ้น ดังนั้นปัญหาน้ำแข็งอุดตัน จึงเกิดขึ้นได้ตามหัวข้อหลักต่อไปนี้

 

1. ความชื้นเข้าไปในคอยล์เย็นมากเกินไป

ความชื้นเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้น้ำแข็งเกิดขึ้นโดยเฉพาะที่คอยล์เย็น หากเป็นห้องเย็นที่ตั้งค่าอุณหภูมิติดลบ น้ำแข็งจะก่อตัวบริเวณคอยล์เย็น ซึ่งถือเรื่องภาวะปกติ

นอกจากนี้อีกสาเหตุที่พบเจอบ่อย ๆ คือ ขณะเปิดประตูห้องเย็น อากาศและความชื้นจากภายนอกจะเข้าไป หากคอยล์เย็นถูกติดตั้งอยู่ใกล้กับประตู ความชื้นจะเข้าคอยล์เย็นโดยตรง ทำให้เกิดน้ำแข็งได้เร็วขึ้น

ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยการติดตั้งม่านกั้นห้องเย็น เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเข้ามาในห้องเย็น

 

2. การตั้งค่า Defrost ละลายน้ำแข็งไม่ถูกต้อง

การตั้งค่า Defrost เป็นอีกสาเหตุนี้ก็เป็นที่พบได้บ่อย เพราะการละลายน้ำแข็งตั้งค่าให้ฮีทเตอร์ทำงานเวลาน้อยเกินไปจนละลายน้ำแข็งได้ไม่หมด แต่หากฮีทเตอร์ทำงานเวลานานเกินไป ก็เกินความจำเป็นทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าได้

 

การตั้งค่าที่แนะนำ

• รอบการละลายน้ำแข็งที่ชั่วโมง

ส่วนใหญ่ใช้เวลาทำความเย็น 3-4 ชั่วโมง และหยุด Defrost หนึ่งครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่านี้เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าน้ำแข็งก่อตัวเร็วมากน้อยแค่ไหน ถ้าใช้ห้องอุณหภูมิ +5 องศาเซลเซียส น้ำแข็งก็จะเกิดช้ากว่า อาจตั้งใช้เวลาทำความเย็นไปถึง 5-6 ชั่วโมง และหยุด Defrost หนึ่งครั้ง ก็ได้

• เวลาการ Defrost กี่นาทีต่อรอบ

โดยส่วนใหญ่จะทำการตั้งค่าไว้ประมาณ 20-30 นาทีต่อรอบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้องเย็นที่ตั้งค่าไว้ ถ้าติดลบมาก น้ำแข็งมาก จึงควรตั้ง Defrost ไว้ 30 นาที หากเป็นห้องเย็น 0 ถึง +5 องศาเซลเซียส สามารถตั้ง Defrost 20 นาที ก็ได้ เวลาในการ Defrost นี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิห้อง และการใช้งานจริง

• อุณหภูมิสูงสุดที่หยุดการ Defrost

โดยปกติจะตั้งค่าการหยุด Defrost ไว้ที่ +18 องศาเซลเซียส เมื่อเซ็นเซอร์ที่อยู่หลังคอยล์เย็นจับได้ว่าอุณหภูมิห้องเย็นบริเวณที่มีฮีทเตอร์สูงเกิน +18 องศาเซลเซียสแล้ว ก็จะหยุดการ Defrost  การตั้งค่าอุณหภูมิสูงสุดนี้จะตั้งคู่กับเวลาที่ใช้ Defrost หากค่าใดค่าหนึ่งถึงกำหนดก่อน ก็จะหยุดการ Defrost เพื่อป้องกันค่าความร้อนที่สะสมสูงเกินไป และอาจเกิดไฟไหมได้

 

3. ฮีทเตอร์ละลายน้ำแข็งไม่ทำงาน

ในกรณีที่ฮีทเตอร์ไม่ทำงาน ให้เรียกช่างที่ชำนาญเข้าทำการแก้ไข

 

4. ปิดเครื่องทำความเย็นก่อนจะถึงรอบละลายน้ำแข็ง (Defrost)

กรณีที่ปิดเครื่องทำความเย็นก่อนถึงรอบ Defrost ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้น้ำแข็งไม่ละลาย เพราะการปิดเครื่องทำความเย็นเท่ากับการหยุดทุกการทำงาน ทำให้น้ำแข็งยังคงเกาะติดอยู่ภายใน เมื่อเปิดปสวิตซ์เครื่องทำความเย็นอีกครั้ง เวลาก็จะเริ่มนับใหม่ เช่น ตั้งค่า Defrost ไว้ทุก ๆ 3 ชั่วโมง ก็รออีก 3 ชั่วโมง ถึงจะ Defrost เมื่อถึงจุดนี้ทำให้น้ำแข็งก่อตัวสะสมเพิ่มจากเดิมจนทำให้คอยล์เย็นอุดตันได้

 

วิธีแก้ไข

ในกรณีที่ทำการปิดเครื่องทำความเย็น ให้ตรวจเช็คก่อนที่จะเปิดเครื่องอีกครั้ง โดยให้สังเกตที่คอยล์เย็นว่ามีน้ำแข็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีน้ำแข็งเกาะตัวอยู่ ให้ทำการกดปุ่ม Manual Defrost เพื่อละลายน้ำแข็งที่ยังติดค้างในระบบก่อน แล้วจึงให้เครื่องทำงานตามปกติ

 

5. สินค้าที่แช่มีความชื้นสูงมาก

สินค้าที่มีความชื้นมาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าสด เช่น หมูสด ไก่สด อาหารทะเลสด อาหารลักษณะนี้จะมีน้ำหรือความชื้นในตัวสินค้าสูง เมื่อนำมาเข้าห้องเย็นทันที ความชื้นจะมาเกาะที่คอยล์เย็นได้เร็วกว่าอาหารที่แช่แข็งมาแล้ว

 

วิธีแก้ไข

ให้ใช้คอยล์เย็นที่มีระยะห่างของครีบ (FIN) มากขึ้น หรือตั้งค่ารอบการละลายน้ำแข็งให้ถี่ขึ้น จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

 

สรุป

ปัญหาเกี่ยวกับคอยล์เย็นนั้น สามารถเกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งจากตัวสินค้าที่จัดเก็บ ปัจจัยเรื่องความชื้นทั้งจากภายในและภายนอก การตั้งค่าการละลายทั้งเวลาและอุณหภูมิ สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังมีปัญหาดังกล่าว สามารถปรึกษาทีมงาน Cool Innotech ได้ครับ หรือหากผู้ประกอบการท่านใดสนใจสร้างห้องเย็นเพื่อการจัดเก็บหรือผลิตสินค้าสามารถปรึกษาทางทีมงานได้เลยครับ

บทความแนะนำ

Picture 4.jpg

เปลี่ยนห้องในบ้าน
ให้เป็นห้องเย็นขนาดเล็ก

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจและต้องการสร้างห้องสำหรับจัดเก็บสินค้าด้วยระบบทำความเย็น คุณสามารถเปลี่ยนห้องในบ้านให้เป็นห้องเย็น

Picture1e42.png

Main Components

อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และถูกแบ่งประเภทออกอย่างไร สามารถกดอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ

Picture%201_edited.jpg

ก่อนติดตั้งห้องเย็น
ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ทำความรู้จักประเภทห้องเย็น ห้องแช่แข็ง เลือกติดตั้งกับผู้ที่เชี่ยวชาญ ระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็งและอุปกรณ์ต่างๆภายในห้อง

bottom of page