top of page

การดูแล...
ระบบทำความเย็น
ห้องเย็น และ ห้องแช่แข็ง

unnamed'l;.jpg

วิธีตรวจเช็คเครื่องทำความเย็น

แบบ 1 คอยล์เย็น ต่อ 1 คอนเดนซิ่งยูนิต

เบื้องต้นด้วยตนเอง 

   คอนเดนซิ่งยูนิต เป็นเหมือนหัวใจสำคัญของระบบทำความเย็น

เพื่อให้ห้องเย็นเก็บสินค้ามีสภาพการใช้งานที่คงทน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

เจ้าของหรือช่างควรศึกษาเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องทำความเย็น

โดยเฉพาะคอนเดนซิ่งยูนิต เพื่อคอยสังเกตถึงความผิดปกติ

และสามารถแก้ไขเบื้องต้นเมื่ออุปกรณ์เกิดปัญหาขึ้น ป้องกันความเสียใหญ่ที่จะตามมา

 

ซึ่งสามารถตรวจเช็คเบื้องต้นดังนี้  

 

• ปัญหาเสียงดังที่มักเกิดกับ คอนเดนซิ่งยูนิต หรือ ยูนิตคูลเลอร์

อาจเกิดจากโครงสั่น หรือ พัดลมบิดเบี้ยว  

 

วิธีการแก้ไขเบื้องต้น ถ้าโครงเสียงดังอันเกิดมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์

ให้ทำการเปลี่ยนลูกยางรองฐานคอมเพรสเซอร์ใหม่ หรือหากเกิดจากการทำงานพัดลม

ให้เปลี่ยน พัดลม ใหม่ ถ้าเกิดจากการที่ขันสกรูไม่แน่นก็ให้ทำการขันสกรูใหม่ให้แน่น    

 

• ปัญหาห้องไม่เย็น ที่มักเกิดกับ คอนเดนซิ่งยูนิต หรือ ยูนิตคูลเลอร์

อาจเกิดมาจากหลายกรณี เช่น แนวเชื่อมและข้อต่อต่างๆ เกิดการรั่วซึม

คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน พัดลมคอยล์ร้อน และพัดลมยูนิตคูลเลอร์ไม่ทำงาน เทอร์มอมิเตอร์เสีย ในกรณีที่เกิดจากน้ำยาขาด ให้สังเกตบริเวณท่อทองแดงตามจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ

จะมีคราบน้ำมันหยดอยู่นั้น เป็นอาการเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาในระบบ

หากเกิดกรณีเช่นนี้ ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย

หากนานเกินไปอาจถึงขั้นต้องเปลี่ยน คอมเพรสเซอร์      

                                                 

อ่านต่อได้ที่

การดูแลและตรวจสอบความปลอดภัย

      ความปลอดภัยเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรให้ความสำคัญกับระบบทำความเย็น

เนื่องจากระบบทำความเย็นประกอบด้วยอุปกรณ์จำนวนมาก

และควรได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่ดีและใช้งานได้ดีอยู่เสมอ

 

โดยสามารถทำได้ตามคำแนะนำดังนี้  

 

1. บริเวณติดตั้งเครื่องอัดน้ำยา (Compressor) ต้องมีพื้นที่เพียงพอ

เพื่อการเข้าซ่อมบำรุงได้อย่างสะดวก และมีการระบายอากาศในบริเวณที่ติดตั้ง  

 

2. มีการติดตั้งระบบระบายอากาศฉุกเฉิน เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าดับ  

 

3. ในบริเวณห้องอัดน้ำยาต้องไม่มีวัสดุหรือเชื้อเพลิงไวไฟ

และผนังห้องต้องเป็นวัสดุที่ทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง  

 

4. มีที่ล้างตา (Eye Bath) และที่อาบน้ำฉุกเฉิน (Safty Shower) ในบริเวณห้อง

 

 5. มีการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างที่เพียงพอ และมีไฟฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ  

 

6. ตรวจสอบวาล์วน้ำ วาล์วน้ำยา ให้เปิดเมื่อใช้งานและปิดเมื่อเลิกใช้งาน  

 

7. ติดตั้งถังดับเพลิงชนิด Dry Chemical

หรือชนิดที่สามารถใช้ดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของแอมโมเนียได้  

 

8. มีหน้ากากป้องกันอันตรายจากสารแอมโมเนียเมื่อเกิดการรั่วไหล  

 

9. มีป้ายแสดงคุณสมบัติ (Material Safety Data Sheet : MSDS)

ในบริเวณที่มีการใช้สารแอมโมเนีย

ปัญหาที่พบบ่อยของระบบทำความเย็นในโรงงาน 

   การรั่วไหลของสารทำความเย็นที่เป็นแอมโมเนีย

เป็นปัญหาที่พบค่อนข้างบ่อยสำหรับระบบทำความเย็นในโรงงาน  

สารทำความเย็นที่เป็นชนิดสารสารแอมโมเนีย จะมีความเป็นสารพิษและมีความอันตรายสูง

เมื่อไหลออกมาสู่ภายนอกจากอุปกรณ์ทำความเย็น เมื่อมีการรั่วไหล

จะเริ่มส่งกลิ่นฉุนและผู้ที่สูดดมจะเกิดการระคายเคืองที่ระบบหายใจ

เมื่อมีการสัมผัสโดยตรงที่ผิวหนังก็จะเกิดการไหม้ของผิวหนังอย่างรุนแรง

หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้   

เคล็ดลับประหยัดไฟ ลดค่าใช้จ่ายห้องเย็น ห้องแช่แข็ง 

      • เลือกเครื่องทำความเย็นให้เหมาะสมกับการใช้งานและพื้นที่ในการใช้งาน

เพื่อให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม  

 

• เลือกใช้วัสดุฉนวนห้องเย็น และอุปกรณ์ทำความเย็นที่มีคุณภาพ

และมีมาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของห้องเย็น

และให้เสื่อมสภาพน้อยที่สุด และช่วยให้ประหยัดพลังงานในระยะยาว  

 

• ตรวจดูพื้นที่ในการใช้งานต่าง ๆ เช่น การหมุนเวียน

การถ่ายเทอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงงาน  

 

• ตรวจสภาพการทำงานของห้องเย็นเสมอ

เช่น แผ่นฉนวน ผนังประตู และล้างทำความสะอาดชุดทำความเย็น

และชุดระบายความร้อนระบบเครื่องทำความเย็นให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ

 

บทความแนะนำ

Picture 4.jpg

เปลี่ยนห้องในบ้าน
ให้เป็นห้องเย็นขนาดเล็ก

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจและต้องการสร้างห้องสำหรับจัดเก็บสินค้าด้วยระบบทำความเย็น คุณสามารถเปลี่ยนห้องในบ้านให้เป็นห้องเย็น

Picture1e42.png

Main Components

อุปกรณ์หลักในระบบทำความเย็นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และถูกแบ่งประเภทออกอย่างไร สามารถกดอ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ

Picture%201_edited.jpg

ก่อนติดตั้งห้องเย็น
ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

ทำความรู้จักประเภทห้องเย็น ห้องแช่แข็ง เลือกติดตั้งกับผู้ที่เชี่ยวชาญ ระบบ ห้องเย็น ห้องแช่แข็งและอุปกรณ์ต่างๆภายในห้อง

bottom of page