การตรวจเช็คเบื้องต้น
และการดูแลห้องเย็นขนาดเล็ก
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบทำความเย็นเป็นส่วนประกอบหลักของห้องเย็นขนาดเล็ก ที่ทำหน้าที่ทำความเย็นให้เพียงพอต่อการใช้งาน โดยเมื่อมีการเปิดใช้งานห้องเย็นหรือห้องแช่แข็งแล้ว ส่วนใหญ่จะต้องเดินเครื่องต่อเนื่องโดยไม่สามารถหยุดเดินเครื่องได้จนกว่าเลิกใช้งาน จากการที่ต้องเดินเครื่องต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงควรทำการตรวจเช็คบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคงประสิทธิภาพการใช้งานและยืดอายุการใช้งานเครื่องทำความเย็น โดยการตรวจเช็คเบื้องต้นของห้องเย็นขนาดเล็กแบ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้
อ่านต่อได้ที่
การตรวจเช็คภายในห้องเย็นขนาดเล็ก
• นอกจากตรวจดูว่าอุณหภูมิภายในปกติหรือไม่แล้ว ควรมีการตรวจพื้นผิวผนัง
ฝ้า ประตู ว่ามีหยดน้ำ หรือเกล็ดน้ำแข็งจับตัวอยู่หรือไม่ ในกรณีที่มีการจับตัวเยอะผิดปกติ
ควรตรวจสอบลักษณะการใช้งาน เช่น เปิดประตูทิ้งไว้เป็นเวลานาน
หรืออาจมีการรั่วซึมที่ฉนวน ฯลฯ
• การทำงานของพัดลมคอยล์เย็น ต้องไม่มีน้ำแข็งจับ
มีน็อตยึดแน่น มั่นคงแข็งแรง ใบไม่บิดเบี้ยว หรือฉีกขาด
• หางวัดอุณหภูมิอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีน้ำแข็งจับ
สายสัญญาไม่ฉีกขาด หลุดออกจากตำแหน่งที่ติดตั้ง
• ระบบละลายน้ำแข็งทำงานปกติ ละลายน้ำแข็งได้หมด
ไม่เหลือตกค้างให้เห็นที่แผงคอยล์เย็น ทุกรอบที่มีการระลายน้ำแข็ง
• ท่อต่างๆ และถาดน้ำทิ้งอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีรอยรั่วซึม
หรือน้ำล้นถาดออกมา ไม่มีการปริแตกของฉนวนหุ้มท่อ
• แผงคอยล์ทำความเย็นไม่สกปรกอุดตัน หรือมีน้ำแข็งจับ ไม่มีสิ่งของวางปิดทางลม
อ่านต่อได้ที่
การตรวจเช็คภายนอกห้องเย็นขนาดเล็ก
• แผงคอนเดนเซอร์ หรือคอยล์ร้อน
เป็นส่วนประกอบหลักส่วนหนึ่งของ Condensing Unit มีลักษณะเป็นครีบ
ระบายความร้อนด้วยอากาศ การรักษาประสิทธิภาพของเครื่อง
จึงควรหมั่นตรวจสอบแผงคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนว่าไม่มีการอุดตัน
การทำงานของพัดลมระบายความร้อน ตำแหน่งติดตั้งต้องไม่มีสิ่งของวางปิดกั้นทางลม
• คอมเพรสเซอร์ ควรอยู่ในสภาพสะอาดเรียบร้อย
ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในขณะเครื่องทำงาน เปรียบเทียบกับป้ายกำกับของตัวเครื่อง
Name plate ต้องไม่สูงเกินค่ากำหนด
• แรงดันน้ำยาในระบบ ในขณะเครื่องทำงานอยู่ ควรมีแรงดันทางสูง
และทางต่ำอยู่ในช่วงการใช้งานที่ผู้ติดตั้งแนะนำหรือตามคู่มือของเครื่องทำความเย็น
• ฉนวนหุ้มท่อน้ำยา อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาดหรือมีหยดน้ำ
อ่านต่อได้ที่
การตรวจสอบอุปกรณ์หลักเพื่อ
ความปลอดภัยของห้องเย็นขนาดเล็ก
ควรตรวจสอบอุปกรณ์หลักของห้องเย็นขนาดเล็ก เพื่อรักษาสภาพการทำงานของอุปกรณ์
ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานภายในโรงงาน ที่เกิดจากการรั่วไหลของสารทำความเย็น ซึ่งในเชิงวิศวกรรมสามารถตรวจสอบ
ความปลอดภัยของระบบทำความเย็นได้ดังนี้
เครื่องอัดน้ำยา (Compressor)
• หากมีการส่งกำลังขับด้วยสายพาน หรือ คัปปลิ้ง ต้องมีฝาครอบเพื่อป้องกันอันตราย
และมีลักษณะที่เป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
• มีแผ่นป้าย Name Plate ระบุข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อรุ่น ชื่อผู้ผลิต หมายเลขเครื่อง
ข้อมูลความดันที่ออกแบบสูงสุด
• ฝาครอบไม่มีการชำรุด ผุกร่อน มีน็อตยึดฝาครอบอย่างมั่นคง
• ไม่มีส่งเสียงดัง และไม่มีการสั่นสะเทือนรุนแรงในขณะที่เครื่องทำงาน
• บริเวณที่ติดตั้งไม่มีคราบน้ำมันหยด รั่วซึม ตกหล่นอยู่
• มีการติดตั้งลิ้นกันกลับ check valve ในด้านส่ง และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
• มีการติดตั้งวาล์วนิรภัยระบายความดัน และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ดี
• มีสวิตช์ตัดอัตโนมัติเมื่อเกิดความดันด้านทางส่งสูงเกินไป
• มีสวิตช์ตัดอัตโนมัติเมื่อเกิดความดันน้ำมันต่ำหรือสูงเกินไป
อ่านต่อได้ที่
ชุดคอยล์ร้อน (Condenser)
• มีป้ายแสดงข้อมูล Name Plate ระบุชื่อผู้ผลิต ชื่อรุ่น รหัส
หมายเลขเครื่อง ข้อมูลความดันออกแบบและความดันทดสอบที่ติดตัวเครื่อง
• มีฝาครอบที่พัดลม และอยู่ในสภาพการใช้งานที่ดี
• จุดยึด และน็อตยึดไม่เป็นสนิม ผุกร่อน
• ไม่มีร่องรอยคราบน้ำมัน ที่บริเวณจุดต่อและท่อน้ำยาทำความเย็น
หากพบว่ามีการรั่วต้องรีบทำการตรวจสอบและแก้ไขซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนที่สุด
ชุดคอยล์เย็น (Evaporator)
• มีป้ายแสดงข้อมูล Name Plate ระบุชื่อผู้ผลิต ชื่อรุ่น รหัส หมายเลขเครื่อง
ข้อมูลความดันออกแบบและความดันทดสอบที่ติดตัวเครื่อง
• มีฝาครอบที่พัดลม และอยู่ในสภาพการใช้งานที่ดี
• จุดยึด และน็อตยึดไม่เป็นสนิม ผุกร่อน
• ไม่มีร่องรอยคราบน้ำมัน ที่บริเวณจุดต่อและท่อน้ำยาทำความเย็น
หากพบว่ามีการรั่วต้องรีบทำการตรวจสอบและแก้ไขซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนที่สุด
อ่านต่อได้ที่
อ่านต่อได้ที่
ถังความดัน วาล์วควบคุม และระบบท่อ
(Pressure Vessels, Expansion Valve, Suction and Liquid Lines)
• มีป้ายแสดงข้อมูล Name Plate ระบุชื่อผู้ผลิต รหัสรุ่น หมายเลขเครื่อง
ปีที่ผลิต ข้อมูลความดันออกแบบ และความดันทดสอบติดอยู่ที่บริเวณถังความดัน
• มีการติดตั้งวาล์วนิรภัยที่มีขนาดที่เหมาะสม และอยู่ในสภาพการใช้งานที่ดี
• สภาพถังความดัน และท่อน้ำยา ไม่มีการผุกร่อนหรือเป็นสนิม
• ไม่มีร่องรอยคราบน้ำมัน ที่บริเวณจุดต่อและท่อน้ำยาทำความเย็น
หากพบว่ามีการรั่วต้องรีบทำการตรวจสอบและแก้ไขซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนที่สุด
สรุป
การตรวจสอบสภาพความพร้อมในการใช้งานของอุปกรณ์ทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ
จะทำให้ห้องเย็นขนาดเล็กสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และการควบคุมอุณหภูมิในการทำความเย็นที่ต้องการได้ดี
อีกทั้งยังช่วยในการลดความเสี่ยงการหยุดของเครื่อง Breakdown
และอันตรายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการชำรุดของอุปกรณ์ทำความเย็นได้อีกด้วย
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับห้องเย็นขนาดเล็ก
สามารถทักสอบถามได้ ที่นี่ LINE OFFICIAL เลยครับ
ทีมงาน Cool Innotech พร้อมให้คำแนะนำทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบทำความเย็นครับ